บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหารนับตั้งแต่สมัยโรมันโดยกลุ่มนักรัฐประศาสนศาสตร์เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย
ให้คำจำกัดความคำว่า บริหารว่า หมายถึง การจัดการหือการควบคุมกิจการต่าง เช่น
การบริหารการเงินของมูลนิธิ
การบริหารกิจการภาษี การบริหารงานของรัฐ หมายถึง
การบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดแบบแผน ส่วนการบริหารนั้น หมายถึง การปฏิบัติการต่างๆตามนโยบายที่วางไว้โดยเหตุนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองจึงเข้าควบคุมฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารก็มีอิทธิพลต่อฝ่ายการเมืองการ บริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ การบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองการบริหารงานของรัฐ
หมายถึงการบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน วิวัฒนาการด้านธุรกิจ การพัฒนาหลักการบริหารได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อศตวรรษที่19 ได้ทำให้เกิดความต้องการ วิธีการบริหารที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมได้เจริญอย่างรวดเร็ว ระเบียบวินัยในการทำงานการบริหารด้านธุรกิจมีการวาง
กฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ ดังนั้นปรัชญาการบริหารธุรกิจ
จึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่าง
การแบ่งยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
-ยุคที่1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม สำนักนี้มีอยู่ 2
สาย
-สายการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์หรือการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
-สายทฤษฎีองค์การสมัยเดิม
-การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการต่างๆดังนี้
-กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-วิธีการผลิตควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
-คุณสมบัติของผู้ผลิต ครู
-บุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานต่ำ
ควรตระเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะปฏิบัติงาน
ยุคที่2ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
ความเป็นผู้นำไม่ควรจะมาจากอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการตามแนวคิดสมัยเดิม
ผู้บริหาร คือผู้บริหารต้องมีความรู้ ความฉลาดและมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม
ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
ยุคนี้เริ่มการมองการบริหารเป็นเรื่องการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงใช้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล ยุคนี้การบริหารในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงมนุษยสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมถึงปัจจัยและพฤติรรมโดยส่วนรวมของหน่วยงานทุกด้าน
บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ จะต้องมีใครสักคนเข้ามาดำเนินการจัดการกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
การบริหารการศึกษานั้นไม่ได้แตกต่างจากการบริหารทั่วๆไป กล่าวคือ
สามารถนำหลักการของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารการศึกษาได้
คุณลักษณะและผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย
เพราะจะมีลักษณะเผด็จการเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต หมายถึง
กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น ในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง
กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี
หมายถึง
การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร
คือ
การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน
คือ
เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา
เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ
การบริหารการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์
ปรัชญาการศึกษา ในการบริหารการศึกษานั้นมีผู้บริหาร
นอกจากจะต้องทราบหลักการบริหาร ระเบียบปฏิบัติ แผนการศึกษาชาติ
ประเพณีในการบริหารที่ปฏิบัติต่อๆกันมา
บริหารศึกษาควรสนใจและนำไปเป็นหลักในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษาไม่ว่าระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับโรงเรียน
มีหลัก 10 ประการ
1.ครูจะต้องรู้จักเด็กที่ตนสอนทุกคน
2.โรงเรียนจะต้องใช้ความเสมอภาค
3.การจัดโรงเรียนต้องให้เหมาะสมกับปรัชญา วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการศึกษา
4.โรงเรียนจะต้องตระหนักถึงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
5.การจัดกิจกรรมในโรงเรียนต้องส่งเสริมและสอดคล้องกับหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
6.การจัดการเรียนการสอนต้องเน้นการผสมผสานวิชาเข้าด้วยกันมุ่งให้เด็กนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากกว่าเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน
7..ครูจะต้องระลึกเสมอว่า
ครูมีหน้าที่ส่งเสริมช่วยเหลือให้เด็กพัฒนาตนเองตามอัตภาพของเด็ก
8.การจัดองค์การบริหารในโรงเรียน
9.การจัดเด็กเข้าชั้นเรียน เข้ากลุ่ม
ต้องเคารพในความทัดเทียม ความเสมอภาค
10.โรงเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้ครู-อาจารย์ ได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ในฐานะเป็นนักวิชาการ
ซึ่งที่ได้กล่าวมานี้
เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษาให้เป็นไปตามกระบวนหารศึกษาของโรงเรียน
บทที่5 องค์การและการจัดองค์การ
ความหมายขององค์กร
หมายถึง ส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น
3 ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.องค์การทางสังคม
2.องค์การทางราชการ
3.องค์การเอกชน
แนวคิดในการจัดองค์การ
1. แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2. แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง “ผู้ปฏิบัติงาน”
3. แนวในการจัดการองค์การ จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
ความสำคัญของการจัดองค์การ
องค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
องค์ประกอบในการจัดองค์การ
1. หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
2. การแบ่งงานกันทำ
3.
การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
ประเภทขององค์การรูปนัย
แบ่งออก 4 ประเภท
1. สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
2.
องค์การทางธุรกิจ
3. องค์การเพื่อบริการ
4. องค์การเพื่อสาธารณชน
ทฤษฎีองค์การ คือ ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา
รัฐศาสตร์
และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมาย ระบบราชการ หมายถึง
ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี
มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล
โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร
การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง
ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร
และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ
โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ
การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน
บทที่8การประสานงาน
การประสานงาน
คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน
เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย
ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น
และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน
บทที่9การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป
หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี
จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร
ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล
ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน
ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ จะมีหลายด้าน ดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ
จึงถือว่างาวางแผน
2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพนวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา
ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค
ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝัง
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา
รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น